เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 3. อภิชานสูตร

เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
การกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า การกำหนดรู้”

ปริญญาสูตรที่ 2 จบ

3. อภิชานสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ยิ่ง

[24] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละเวทนา เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ... สัญญา ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสังขาร เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละวิญญาณ เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง1 กำหนดรู้2 คลายกำหนัด3 ละรูปได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 4. ฉันทราคสูตร

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละวิญญาณได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”

อภิชานสูตรที่ 3 จบ

4. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยการละฉันทราคะ

[25] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป
ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละรูปนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในเวทนา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
เวทนานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสัญญา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สัญญานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสังขาร ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สังขารนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในวิญญาณ ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจัก
ละวิญญาณนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”1

ฉันทราคสูตรที่ 4 จบ